วันอังคารที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2554

พัฒนาการของเทคโนโลยีสารสนเทศ

ก่อนการปฏิวัติทางอุตสาหกรรม ประชากรโลกส่วนใหญ่จะยึดอาชีพเกษตรกรรมเป็นแกนหลัก มีเพียงบางส่วนยึดอาชีพบริการและทำงานในโรงงานอุตสาหกรรม แต่เมื่อมีการปฏิวัติอุตสาหกรรม พลเมืองในชนบทเป็นจำนวนมากละทิ้งถิ่นฐานเดิม จากการทำไร่ไถนามาทำงานในโรงงานอุตสาหกรรม ทำให้เกิดการขยายตัวของประชากรในภาคอุตสาหกรรมและการลดน้อยลงในภาคเกษตรกรรม ขณะที่ผู้ทำงานด้านบริการจะค่อย ๆ ขยับสูงขึ้นอย่างช้า ๆ พร้อม ๆ กับการมีผู้ทำงานด้านสารสนเทศ ที่ค่อย ๆเพิ่มสูงขึ้นตลอดอย่างต่อเนื่องเทคโนโลยีสารสนเทศเพิ่งเกิดขึ้น และเริ่มเมื่อไม่นานมานี้เอง เมื่อราว พ.ศ.2500 เทคโนโลยีสารสนเทศยังไม่แพร่หลายนัก จะมีเพียงการใช้โทรศัพท์เพื่อการติดต่อสื่อสารและเริ่มมีการนำคอมพิวเตอร์มาช่วยประมวลผลข้อมูล งานด้านสารสนเทศอื่น ๆ ส่วนใหญ่ยังคงเป็นงานภายในสำนักงานที่ยังไม่มีอุปกรณ์และเครื่องมือด้านเทคโนโลยีมาช่วยงานเท่าใดนักเมื่อมีการประดิษฐ์คิดค้นอุปกรณ์ช่วยงานสารสนเทศมากขึ้น เช่น เครื่องถ่ายสำเนาเอกสาร เครื่องพิมพ์ดีดไฟฟ้า เครื่องโทรสาร และเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ อาชีพของประชากรก็ปรับเปลี่ยนมาสู่งานด้านสารสนเทศมากขึ้น งานด้านสารสนเทศมีแนวโน้มขยายตัวที่ค่อนข้างสดใส เพราะเทคโนโลยีด้านนี้ได้รับการส่งเสริมสนับสนุนอย่างเต็มที่ด้วยการพัฒนาค้นคว้าวิจัยให้เกิดผลิตภัณฑ์ใหม่ ออกมาตอบสนองความต้องการของมนุษย์อยู่ตลอดเวลา
การใช้คอมพิวเตอร์ในการทำงาน

ระบบสารสนเทศที่กำลังได้รับความสนใจอย่างมากในขณะนี้ คือ เทคโนโลยีแบบสื่อประสม (multimedia) ซึ่งรวมข้อความ จำนวน ภาพ สัญลักษณ์ และเสียงเข้ามาผสมกัน เทคโนโลยีนี้กำลังได้รับการพัฒนา ในอนาคตเทคโนโลยีแบบสื่อประสมจะช่วยเสริมและสนับสนุนงานด้านสารสนเทศให้ก้าวหน้าต่อไป เป็นที่คาดหมายว่าอัตราการเติบโตของผู้ทำงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศจะมีมากขึ้น จนนำหน้าสายอาชีพอื่นได้ทั้งหมดในไม่ช้านี้การพัฒนาทางเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นไปอย่างรวดเร็ว ทั้งด้านฮาร์ดแวร์ (hardware) ซอฟต์แวร์ (software) ด้านข้อมูล และการติดต่อสื่อสาร ผู้ใช้จึงต้องปรับตัวยอมรับและเรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ที่เกิดขึ้นอยู่เสมอ โดยเฉพาะข้อมูลและการติดต่อสื่อสารซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของการดำเนินธุรกิจจำนวนมาก หากการดำเนินงานธุรกิจใช้ข้อมูล ซึ่งมีการบันทึกใส่กระดาษและเก็บรวบรวมใส่แฟ้ม การเรียกค้นและสรุปผลข้อมูลย่อมทำได้ช้า และเกิดความผิดพลาดได้ง่ายกว่าการประมวลผลข้อมูลด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีสมัยใหม่จะช่วยงานให้ง่ายสะดวกและรวดเร็วขึ้น และที่สำคัญช่วยให้สามารถตัดสินใจดำเนินงานได้เร็ว และถูกต้องดีขึ้น

วันอังคารที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2554

แนวโน้มของเทคโนโลยีการศึกษา

แนวโน้มของเทคโนโลยีการศึกษา
ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศได้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในการจัดการศึกษาและการเรียนรู้ของมนุษย์เป็นอย่างมาก การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวเป็นผลสืบเนื่องมาจากศักยภาพของเทคโนโลยีสารสนเทศในการขจัดข้อจำกัดของกาลเวลา และระยะทาง ส่งผลให้การแลกเปลี่ยนข่าวสารข้อมูลเกิดได้ในทุกเวลา และทุกสถานที่ ซึ่งจากวิวัฒนาการนี้เองได้ก่อให้เกิดรูปแบบการจัดการศึกษาแบบใหม่ที่มีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เป็นเครือข่ายสารสนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษา

เทคโนโลยีที่ใช้ในโครงการเครือข่ายสารสนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษา

เทคโนโลยีที่ใช้ในโครงการนี้ เป็นการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ โทรคมนาคมและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ซึ่งจัดเป็นระบบการเรียนการสอนทางไกลแบบสองทางเทคโนโลยีโทรประชุมทางไกล (Video Conference) ซึ่งเป็นเทคนิคใหม่ที่ใช้ในการสื่อสารระยะไกล เป็นการผสมผสานของสัญญาณภาพ สัญญาณเสียงและข้อมูลผนวกกับเทคโนโลยีของเครือข่ายและการสื่อสารเพื่อสนองตอบต่อความต้องการของมนุษย์ที่สามารถโต้ตอบกันแบบ Real-time ระหว่างกลุ่ม 2 กลุ่มหรือมากกว่าซึ่งอยู่ห่างไกลกันโดยสรุปแล้วระบบโทรประชุมทางไกล หมายถึง การประชุมทางไกลผ่านจอภาพ เป็นบริการที่ให้ทั้งภาพและเสียงในเวลาเดียวกัน โยผู้ใช้ทั้งต้นทางและปลายทางจะต้องติดตั้งอุปกรณ์ ซึ่งประกอบด้วย กล้องถ่ายภาพ จอภาพ อุปกรณ์แปลงสัญญาณ และชุดควบคุมการประชุมระหว่างจุดสองสุด จะต้องใช้อุปกรณ์สองชุดเชื่อมต่อกัน ส่วนการประชุมพร้อม ๆ กันนั้นจะต้องใช้อุปกรณ์ Teleconference เท่าจำนวนจุดที่ต้องการประชุมและจะต้องใช้อุปกรณ์ควบคุมหลายจุด (Multi-Point Control Unit : MCU) ช่วยการตัดภาพระหว่างจุดแต่ละจุด อุปกรณ์นี้สามารถเชื่อมสัญญาณเข้าด้วยกันได้ โดยทำหน้าที่เป็นทั้งเครื่องรับและเครื่องส่งภายในเครื่องเดียวกัน ส่งสัญญาณผ่านเคเบิ้ลใยแก้วนำแสงหรือผ่านระบบโครงข่าย ISDNนอกจากนี้จากการที่ได้มีโอกาสไปศึกษาดูงาน ชิน ฟันแฟร์ (Shin Fun Fair) ทำให้ได้ทราบถึงเทคโนโลยีที่เกี่ยวกับการเรียนการสอนยุคใหม่คือ เครือข่ายศูนย์การเรียนทางไกลผ่านดาวเทียม(Distance Learning via Satellite) ดำเนินงานโดย บริษัท ชิน บรอดแบรนด์ อินเตอร์เน็ต (ประเทศไทยจำกัด) นำเสนอเทคโนโลยีล่าสุดของการเรียนการสอนยุคใหม่เป็นครั้งแรกใน ประเทศไทย โดยใช้โครงการเทคโนโลยีบรอดแบรนด์ Ipstar หรือ Internet ความเร็วสูงผ่านดาวเทียม แบบ 2 ทาง (Interactive) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนการสอนทั้งภาพ เสียง และข้อมูล โดยเปิดโอกาสให้มีการโต้ตอบระหว่างผู้สอนจากศูนย์ iLearn ในกรุงเทพมหานคร และผู้เรียนที่อยู่ ณ ศูนย์ iLearn ในต่างจังหวัดเสมือนเรียนอยู่ในห้องเดียวกันโดยศูนย์การเรียนการสอน I Learn ในจังหวัดต่างๆ ส่งผ่านข้อมูลผ่านทาง IPStar Gatewey แล้วผ่านไปยัง Fiber Opic แล้วส่งต่อไปยังสถานีแม่ข่ายเพื่อออกอากาศหลักสูตรการสอน และการอบรม (Video Conference) การศึกษาทางไกลผ่านทางดาวเทียม การศึกษาทางไกลผ่านทางสื่อสิ่งพิมพ์ วิทยุ และโทรทัศน์ ดังที่ได้กล่าวถึงรายละเอียดต่าง ๆ ไว้ในตอนต้นแล้ว การศึกษาทางไกลอีกรูปแบบหนึ่งที่เป็นระบบการเรียนทางไกลผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ที่นิยมเรียกกันว่าE-Learning หรือ Electronic Learning ก็เป็นส่วนสำคัญและมีคุณค่ายิ่งต่อการจัดการศึกษาของไทยให้มีประสิทธิภาพ และเป็นไปอย่างทั่วถึงทุกคน ซึ่งเนื้อหาในส่วนต่อไปจะกล่าวถึงสาระที่สำคัญของ E – Learning ดังต่อไปนี้E-Learning หรือ Electronic Learning หมายถึง รูปแบบการเรียนการสอนแบบใหม่ ที่มี การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสื่ออิเล็กทรอนิกส์สมัยใหม่ มีวัตถุประสงค์ที่เอื้ออำนวยให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้องค์ความรู้ (knowledge) ได้โดยไม่จำกัดเวลาและสถานที่  (Anywhere-Anytime Learning)  เพื่อให้ระบบการเรียนการสอนเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น   และเพื่อให้ผู้เรียนสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ของกระบวนวิชาที่เรียนนั้น ๆ
 
รูปแบบการเรียนการสอน

1. การเรียนการสอนทางไกล (Distance Education) เป็นการเรียนการสอนที่ประยุกต์เทคโนโลยีหลาย ๆ อย่าง เช่น ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ การประชุมทางไกลชนิดภาพและเสียง รวมถึงเอกสารต่าง ๆ เพื่อเข้าถึงผู้เรียนที่อยู่ห่างไกล
2. แบบมหาวิทยาลัยออนไลน์ เรียกว่า Online University หรือ Virtual University เป็นระบบการเรียนการสอนที่อยู่บนเครือข่ายในรูปเว็บเพจ มีการสร้างกระดานถาม-ตอบ อิเล็กทรอนิกส์ (Web Board)
3. การเรียนการสอนผ่านทางอินเตอร์เน็ตและเว็บเพจ (Online Learning, Internet Web Base Education) เป็นการนำเสนอเนื้อหาและการปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนและผู้สอนโดยเน้นสื่อประสมหลาย ๆ อย่างเข้าด้วยกัน มีการสร้างสภาวะแวดล้อมที่ประสานงานกัน ให้ผู้เรียนและผู้สอนเข้าถึงฐานข้อมูลหลายชนิดได้ โดยผู้เรียนต้องควบคุมจังหวะการเรียนรู้ด้วยตนเองให้เป็น และเลือกเวลา สถานที่ในการเรียนรู้
4. โครงข่ายการเรียนการสอนแบบอะซิงโครนัส (Asynchronous Learning Network : ALN) เป็นการเสียนการสอนที่ต้องการติดตามผลระหว่างผู้เรียนกับผู้สอน โดยใช้การทดสอบบทเรียน เป็นตัวโต้ตอบ

ลักษณะของการสร้างผลิตภัณฑ์ที่เป็นเนื้อหาสำหรับการเรียนการสอนผ่านE-Learning ประกอบด้วย

E-Book การสร้างหนังสือหรือเอกสารในรูปแบบสิ่งพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ เพื่อใช้ประโยชน์กับระบบการเรียนการสอนบนเครือข่าย
Virtual Lab การสร้างห้องปฏิบัติการจำลองที่ผู้เรียนสามารถเข้ามาทำการทดลอง การทดลองอาจใช้วิธีการทาง simulation หรืออาจให้นักเรียนทดลองจริงตามคำแนะนำที่ให้
Video และการกระจายแบบ Real/audio/video เป็นการสร้างเนื้อหาในรูปแบบวีดีโอ หรือบันทึกเป็นเสียงเพื่อเรียกผ่านทางเครือข่ายคอมพิวเตอร์
Virtual Classroom เป็นการสร้างห้องเรียนจำลองโดยใช้กระดานข่าวบนอินเตอร์เน็ตกระดานคุยหรือแม้แต่จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อประโยชน์การเรียนรู้ผ่านเครือข่าย
Web base training การสร้างโฮมเพจหรือเว็บเพจเพื่อประโยชน์การเรียนการสอน
E-library การสร้างห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ที่ให้บริการบนเครือข่ายได้ขณะนี้มีหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งในและต่างประเทศที่ให้ความสนใจกับ E-Learningทั้งที่มีการพัฒนาแล้วและกำลังพัฒนา เช่น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ภายใต้ชื่อ และมหาวิทยาลัยรามคำแหง ภายใต้ชื่อโครงการ โดยมีวัตถุประสงค์ในการใช้ระบบ E-Learningมาเสริมประสิทธิภาพให้กับระบบการเรียนทางไกลที่มีอยู่ในปัจจุบัน และในต่างประเทศได้มีการพัฒนา E-Learningมาพอสมควรแล้ว เช่น Australia Department of Education,Training and Youth Affairs ภายใต้ชื่อ เช่นกัน สรุปได้ว่าการเรียนรู้โดยผ่านเทคโนโลยีการศึกษาเพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์นั้น เป็นสิ่งที่มีความจำเป็นอย่างมากสำหรับโลกยุคปัจจุบัน และ หลักของ E-Learning ก็คือ ระบบการเรียนทางไกลผ่านอินเตอร์เน็ตที่มีประสิทธิภาพสูง สามารถเผยแพร่ข้อมูลได้อย่างกว้างขวาง ดังนั้น E-Learning จึงเป็นเทคโนโลยีหนึ่งที่ช่วยพัฒนาแต่ละประเทศให้สามารถเข้าสู่สังคมยุค IT ได้อย่างมีประสิทธิภาพนอกจากนี้ เพื่อการศึกษาในหลากหลายรูปแบบ E-Learning จึงถูกนำมาใช้ในการเรียนการสอนมากยิ่งขึ้นเรื่อย ทั้งนี้ก็เพื่อจะเป็นการเตรียมความพร้อม ทรัพยากรมนุษย์ ให้พร้อมที่จะเข้าปรับตัวให้ทันต่อโลกยุคไร้พรมแดน และโลกในยุคต่อ ๆ ไปที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงวิถีการดำลงชีวิตของสังคมมนุษย์ทั้งในปัจจุบันและในอนาคต

แนวโน้มการศึกษาทางไกล

สำหรับข้อมูลในส่วนของแนวโน้มของการศึกษาทางไกล ก่อนที่จะกล่าวถึงแนวโน้มที่ได้จากการวิเคราะห์ และสังเคราะห์จากข้อมูลที่ผ่านมาในอดีตและในปัจจุบันแล้ว แหล่งข้อมูลที่มีความสำคัญในอ้างอิง เพื่อให้แนวโน้มที่ได้มีการคาดการณ์ไว้ล่วงหน้านั้นมีความเชื่อถือได้ ผู้ศึกษาจึงต้องกล่าวถึงงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับแนวโน้มของเทคโนโลยีการศึกษาจากการค้นคว้าเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับแนวโน้มของการศึกษาทางไกลทำให้สามารถวิเคราะห์และสังเคราะห์ถึงแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นในอนาคตที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีด้านการศึกษาทางไกล ดังต่อไปนี้
1. แนวโน้มด้านวิทยุเพื่อการศึกษา
โดยภาพรวมแนวโน้มเทคโนโลยีด้านการศึกษาทางไกลทางด้านวิทยุเพื่อการศึกษา จะมีสถานีวิทยุกระจายเสียง ที่ผู้เรียนสามารถสอบถามอาจารย์ผ่านทาง E-Mail ได้ สถานีวิทยุกระจายเสียงจะต่อกับระบบ Internet Radio เพื่อใช้ร่วมกันได้ทุกพื้นที่ เทปคำบรรยายสรุปจะมีบทบาทร่วมกับวิทยุการศึกษามากขึ้น ม้วนเทปที่ใช้บันทึกรายการวิทยุจะเปลี่ยนเป็นแผ่น CD สถานีวิทยุจะต่อเข้ากับเครือข่ายบริการร่วมระบบดิจิตอล (ISDN)วิทยุเพื่อการศึกษาจะเป็นสื่อหลักอย่างหนึ่งในการศึกษาทางไกล ของทุกหน่วยงานการศึกษา ทั้งหน่วยงานของกระทรวงศึกษาธิการ และทบวงมหาวิทยาลัยจะสนับสนุนให้มีการศึกษาวิจัยด้านวิทยุการศึกษามากขึ้น มีคณะกรรมการควบคุมและประเมินผลการใช้สื่อด้านวิทยุการศึกษาตลอดจนเพิ่มงบประมาณด้านวิทยุการศึกษามากขึ้น
2. แนวโน้มทางด้านโทรทัศน์เพื่อการศึกษา
โดยภาพรวมแนวโน้มเทคโนโลยีด้านการศึกษาทางไกลทางด้านโทรทัศน์เพื่อการศึกษาระบบโทรทัศน์จะต่อเข้ากับระบบ Internet Television และเปลี่ยนจากระบบ Analog มาเป็นระบบ Digital Television (DTV) โทรทัศน์ โทรศัพท์ และคอมพิวเตอร์ จะเชื่อมเป็นหนึ่งเดียวกันจะทำให้การเรียนการสอนไม่มีขีดจำกัดในเรื่องระยะทางและเวลา ระบบโทรทัศน์จะเข้าสู่ระบบ Internet Television สามารถจัดการเรียนการสอนในระบบ Course on Demand โดยอาศัย Cable Television Network และระบบโทรทัศน์จะใช้ Band Width ต่ำเพื่อประหยัดด้านทรัพยากรความถี่ วัสดุอุปกรณ์ด้านโทรทัศน์การศึกษาจะเป็นลักษณะสื่อประสมเป็นการใช้สื่อแบบผสมผสานนำเสนอให้ผู้เรียนรู้ได้กว้างขวางและเข้าใจง่ายโดยจัดเป็นรูปของสื่อสำเร็จรูป มีการใช้ชุดการเรียนแบบ Interactive Television มีการนำอุปกรณ์ที่ใช้ระบบ DVD (Digital Video Disk) มาใช้ร่วม เครื่องรับโทรทัศน์จะนิยมใช้จอภาพขนาด 29 นิ้วขึ้นไป และใช้ร่วมกับเครื่องเล่น Video Compact Disc และมีอุปกรณ์แปลงสัญญาณของระบบ Cable Televisionโทรทัศน์เพื่อการศึกษาจะเป็นสื่อหลักอย่างหนึ่งในการศึกษาทางไกลอย่างที่มหาวิทยาลัยรามคำแหงมีนโยบายในการสนับสนุนให้มีการศึกษาวิจัยทางด้านโทรทัศน์การศึกษา จัดงบประมาณเพิ่มมากขึ้น ร่วมกันหน่วยงานของเอกชนและหน่วยงานของรัฐบาลเพื่อจัดระบบโทรทัศน์การศึกษาให้มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น มีคณะกรรมการควบคุมและประเมินผลการใช้สื่อด้านโทรทัศน์เพื่อการศึกษาและให้มีศูนย์โทรทัศน์เพื่อการศึกษาเกิดขึ้นตามสาขาวิทยบริการต่าง ๆ
3. แนวโน้มทางด้านการประชุมทางไกลเพื่อการศึกษา
โดยภาพรวมแนวโน้มเทคโนโลยีด้านการศึกษาทางไกลทางด้านการประชุมทางไกลเพื่อการศึกษา วิธีการของการประชุมทางไกลจะใช้ผ่านดาวเทียมและสายโทรศัพท์ที่เป็นระบบดิจิตอล และใช้คอมพิวเตอร์เป็นตัวควบคุมการประชุมทางไกลจะมีบทบาทมากในการศึกษาอบรม สัมมนา และการจัดการเรียนการสอน เป็นกลุ่มย่อย เป็นกลุ่มใหญ่ หรือมวลชน ตั้งแต่ระดับปริญญาตรี ปริญญาโทและปริญญาเอก ทำให้สามารถรับนักศึกษาปริญญาตรีและปริญญาโทเข้าเรียนได้โดยไม่จำกัดจำนวนรูปแบบการจัดการเรียนการสอนจะเปลี่ยนเป็นแนว Any Time / Anywhere ซึ่งในส่วนของทบวงมหาวิทยาลัย บุคลากรของมหาวิทยาลัยจะพร้อมเข้าสู่ระบบ E-University จะมีการนำระบบโทรศัพท์มือถือที่มีกล้องขนาดเล็กติดอยู่มาประยุกต์ใช้กับระบบการสอนทางไกล การขยายเครือข่ายทำได้ง่ายและประหยัด เทคโนโลยีบีบอัดสัญญาณทำให้ลดขนาดของสัญญาณสื่อสารภาพและเสียงจะมีประสิทธิภาพสูง และมีการจัดตั้งสถานีการสื่อสารทางไกลระบบ 2ทางเพื่อการศึกษาบนเครือข่ายบริการร่วมระบบดิจิตอล (ISDN) และอินเตอร์เน็ตนอกจากนี้จะขอกล่าวเพิ่มเติมถึงในข้อมูลของรายงานการสัมมนาทางวิชาการ เรื่อง บทบาทและแนวทางการพัฒนาการศึกษาทางไกลของกระทรวงศึกษาธิการในประเด็นการอภิปราย รูปแบบและแนวทางการใช้สื่อทางการศึกษาทางไกลเพื่อการเรียนรู้ในอนาคตสรุปได้ใน 3 ประเด็น ดังนี้
1. ประเภทของสื่อ
สื่อการศึกษาทางไกลเพื่อการเรียนรู้ในอนาคต ควรมีลักษณะที่เป็นสื่อประสม มีความหลากหลายรูปแบบ หลายประเภทให้สอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมายและสภาพการพัฒนาของประเทศและเทคโนโลยีทางการศึกษา ทั้งในส่วนของสื่อสิ่งพิมพ์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ และสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ
 2. กลุ่มเป้าหมาย
ในเรื่องของกลุ่มเป้าหมายที่ควรได้รับการบริการสื่อการศึกษาทางไกลเพื่อการเรียนรู้นั้น ควรยึดกลุ่มเป้าหมายที่สอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.. 2542 ได้แก่ นักเรียนในระบบโรงเรียน นักศึกษานอกระบบโรงเรียน และประชาชนทั่วไป
3. แนวทางการใช้บริการ
ในการดำเนินการให้บริการสื่อการศึกษาทางไกลเพื่อการเรียนรู้ควรดำเนินการดังนี้
3.1 การกระตุ้นให้เกิดความตระหนักและเห็นความสำคัญของการใช้สื่อการศึกษาทางไกลเพื่อการเรียนรู้ของกลุ่มเป้าหมายต่าง ๆ โดยการประชาสัมพันธ์ การเผยแพร่ตารางออกอากาศการสำรวจความต้องการในการใช้สื่อการศึกษาทางไกล และการประเมินผลการใช้สื่อ
3.2 การจัดศูนย์บริการสื่อในระดับพื้นที่ ซึ่งสามารถให้บริการแก่กลุ่มเป้าหมายได้ทุกเวลาและมีสื่อที่หลากหลาย จำนวนเพียงพอต่อความต้องการรับบริการของกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่
สรุปได้ว่า การใช้สื่อการศึกษาทางไกลเพื่อการเรียนรู้นั้น สิ่งที่จำเป็นต่อการพัฒนาสื่อนั้น ผู้ผลิตสื่อจะต้องมีการติดตามประเมินผลการใช้สื่อนั้น ๆ อยู่ตลอดเวลา เพื่อจะได้นำข้อมูลมาปรับปรุงและพัฒนาสื่อให้สอดคล้องกับความต้องการและสภาพของผู้ใช้สื่อ ซึ่งสื่อการศึกษาทางไกลจะต้องมีลักษณะที่หลากหลายและสะดวกในการใช้งาน สามารถให้บริการแก่กลุ่มเป้าหมายได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ

4. โยงกับ พ...
เนื่องจากให้ความสำคัญกับการเรียนรู้ด้วยตนเองจากสื่อต่าง ๆ เป็นการฝึกฝนให้ผู้เรียนมีวินัย และความรับผิดชอบ ซึ่งสอดคล้องกับแนวทางการปฏิรูปการเรียนรู้ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.. 2542 และเป็นการดำเนินการจัดการศึกษาโดยส่วนกลางที่สอดคล้องกับมาตรา 37 แห่งพระราชบัญญัติ การศึกษาแห่งชาติ พ.. 2542 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่ 2) .. 2545 ซึ่งระบุไว้ในวรรค 2 ว่าในกรณีที่เขตพื้นที่การศึกษาไม่อาจบริหารและจัดการศึกษาได้ตามวรรคหนึ่ง กระทรวงอาจจัดให้มี การศึกษาขั้นพื้นฐานดังต่อไปนี้ เพื่อเสริมสร้างการบริหารและจัดการศึกษาของเขตพื้นที่การศึกษาก็ได้” (4) การจัดการศึกษาทางไกลและการจัดการศึกษาที่ให้บริการในหลายเขตพื้นที่การศึกษาสถาบันการศึกษาทางไกลให้บริการการศึกษาเทียบเท่าการศึกษาขั้นพื้นฐาน และการศึกษาต่อเนื่องแก่ประชาชน กลุ่มเป้าหมาย ด้วยระบบวิธีการเรียนแบบทางไกลด้วยตนเอง โดยอาจต้องไปศึกษาค้นคว้าจากแหล่งการเรียนรู้ต่าง ๆ สถาบันการศึกษาทางไกลจึงได้จัดบริการสื่อหลากหลายประเภทไว้ในแหล่งการเรียนรู้ต่าง ๆ ได้แก่ ห้องสมุดประชาชน ศูนย์การเรียน เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยตนเองแก่นักศึกษาและประชาชนอย่างต่อเนื่อง

ภูมิปัญญาชาวบ้านเพื่อการพัฒนาชุมชนและสังคมไทย

ในช่วงที่เพิ่งผ่านมานี้ ความล้มเหลวของการพัฒนาประเทศไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะในประเทศไทยเท่านั้น แต่เกิดขึ้นทุกหนทุกแห่งทั่วโลกที่ถูกครอบงำด้วยวัฒนธรรมตะวันตก ซึ่งมีวิธีคิดแบบแยกส่วน เน้นความเติบโตของเศรษฐกิจระดับมหภาค ขาดความสนใจผู้คนและชุมชนที่ถือเป็นฐานรากของประเทศ แม้ว่าวัฒนธรรมนี้ได้วางรากฐานทางวัตถุแก่โลกนานัปการ โลกที่เคยกว้างใหญ่ไพศาลกลับเล็กลงด้วยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคม ประชากรแทบทุกส่วนในโลกสามารถติดต่อและได้รับผลกระทบซึ่งกันและกัน   จนโลกปัจจุบันมีสภาพไร้พรมแดน หรือโลกาภิวัฒน์ (Globalization)แต่อีกด้านของความเติบโตทางวัตถุก็ก่อให้เกิดการทำลายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจำนวนมหาศาล และที่สำคัญคือ ผู้คนได้สูญเสียความเป็นตัวของตัวเอง ไร้ศักดิ์ศรี และรู้สึกโดดเดี่ยวเพราะถูกตัดขาดจากกันทางสังคม ทำให้เกิดแนวคิดอีกกระแสหนึ่งขึ้นเรียกว่า กระแสชุมชนท้องถิ่น (Localization) ที่ให้ความสำคัญแก่คนและชุมชนในการกำหนดแนวทางการดำเนินชีวิตที่สอดคล้องกับสังคมวัฒนธรรมของตน เพื่อให้สามารถอยู่ในสังคมได้อย่างมีความหมาย มีค่าและมีศักดิ์ศรี เป็นแนวคิดที่มองทุกสิ่งทุกอย่างเชื่อมโยงถึงกันแบบองค์รวมในช่วง 20 กว่าปีมานี้ การวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาประเทศ อันเป็นผลจากการปะทะกันระหว่างแนวคิดสองกระแสดังกล่าวได้เกิดขึ้นอย่างกว้างขวางในสังคมของเรา การนำเสนอประสบการณ์ของชาวบ้านและชุมชนในทุกส่วนของประเทศที่ประสบความสำเร็จจากการพัฒนาบนพื้นฐานทางสังคมวัฒนธรรมได้เรียกร้องให้ผู้คนหันกลับมาทบทวนแนวคิดและแนวทางการพัฒนาประเทศใหม่ จนกระทั่งแนวคิดใหม่ที่ให้ความสำคัญต่อชุมชนท้องถิ่น ซึ่งเคยเป็นกระแสรองมาก่อนหน้านี้ได้กลายเป็นกระแสหลักของการพัฒนาประเทศในปัจจุบันการนำแนวคิดใหม่มาใช้ในการพัฒนาประเทศ จะเกิดขึ้นไม่ได้ภายใต้การกฎเกณฑ์ และกติกาการพัฒนาประเทศแบบเก่า ด้วยเหตุนี้ การแก้ไขระเบียบกฏหมายของประเทศเพื่อให้สอดรับกับทิศทางใหม่นี้จึงเป็นสิ่งจำเป็น เห็นได้จากการประกาศใช้รัฐธรรมนูญเมื่อปี พ..2540 ที่กำหนดให้มีการกระจายอำนาจให้ท้องถิ่นมีอิสระมากขึ้นในการกำหนดทิศทางของตนเอง และการปฏิรูปการศึกษา ที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของชาวบ้านและชุมชนมากขึ้นกว่าเดิม นอกจากนั้น การประกาศใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 (..2540-2544) ที่กำหนดให้คนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 (..2545-2549) ที่มุ่งสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชน และใช้เศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญาชี้นำการพัฒนา เหล่านี้ล้วนยืนยันให้เห็นอิทธิพลของแนวคิดใหม่ในการพัฒนาประเทศอย่างชัดเจน

พัฒนาการของภูมิปัญญาชาวบ้าน

ภูมิปัญญาชาวบ้าน เป็นแนวคิดที่เกิดขึ้นในช่วงที่กระแสวิพากษ์วิจารณ์ทิศทางการพัฒนาประเทศกำลังแพร่หลายในสังคมไทย หรือเมื่อประมาณ 20 กว่าปีที่ผ่านมา ผลจากการปะทะกันของความคิดสองกระแสดังกล่าวข้างต้น ช่วยให้สังคมไทยมีโอกาสทบทวนแนวคิดและทิศทางการพัฒนาในอดีต แสวงหาทางเลือกที่เหมาะสมและสอดคล้องกับสังคมของเราการพัฒนาชนบท ซึ่งเป็นงานที่เกี่ยวข้องกับชีวิตผู้คนจำนวนมากที่สุดในประเทศไทยนั้น แต่เดิมเป็นหน้าที่หรืองานของรัฐ กิจกรรมหรืองานพัฒนาในยุคแรกๆเกิดขึ้นบนพื้นฐานการมองประชาชนในฐานะโง่ จน เจ็บ ขาดความรู้เรื่องการทำมาหากิน ล้าหลัง ไม่ทันสมัย และด้อยพัฒนา เจ้าหน้าที่และหน่วยงานของรัฐจึงมีหน้าที่เข้าไปช่วยเหลือคนเหล่านั้นให้มีความรู้และรายได้เพิ่มขึ้น โดยการฝึกอบรมอาชีพ จัดหาแหล่งทุน และบางครั้งก็ช่วยจัดการด้านการตลาด บทบาทของชาวบ้านเป็นเพียงผู้รับ ส่วนรัฐเป็นผู้ให้ แนวทางการพัฒนานี้ได้กลายเป็นหลักในการทำงานในช่วง 20 ปีแรกของการพัฒนาชนบทไทย คือระหว่าง พ..2503-2523 แม้ว่าในช่วงเวลาดังกล่าวแนวคิดในการพัฒนาชนบทไทยจะเปลี่ยนไปบ้าง จากการเน้นเศรษฐกิจเพื่อเพิ่มรายได้ให้ประชาชนมาเป็นแนวเศรษฐกิจ-สังคม เพราะเห็นว่าการพัฒนาต้องกะทำควบคู่กันทั้งสองด้าน จึงนำเรื่องกลุ่มเข้ามาเกี่ยวข้อง แต่วิธีทำงานก็ยังไม่เปลี่ยนไปจากเดิม คือหน่วยงานและเจ้าหน้าที่รัฐเป็นผู้กำหนดและมีบทบาทสำคัญเหนือชาวบ้านตลอดมาปี พ..2524 ได้เกิดปรากฎการณ์สำคัญที่นำไปสู่การพลิกโฉมการพัฒนาชนบทไทยในเวลาต่อมา กล่าวคือ องค์กรเอกชน (Non-Government Organization =NGO) ที่ทำงานด้านการพัฒนาชนบทจำนวนหนึ่งได้ร่วมกันวิเคราะห์งานที่กำลังดำเนินการอยู่ในขณะนั้น พร้อมกับตั้งคำถาม 25 ข้อ และจัดพิมพ์เป็นหนังสือเล่มเล็กๆชื่อ ใครพัฒนาใคร คำถามเหล่านี้เกิดจากงานพัฒนาที่ทำไปแล้วได้สร้างปัญหาให้ชาวบ้านมากมาย และวิธีการทำงานก็ยังเป็นแบบเดิม คือการสอน การบอกเล่า การจัดกระบวนการ และช่วยชาวบ้านทำงานย้อนหลังไปเมื่อปี พ..2510 องค์กรเอกชนที่ทำงานด้านการพัฒนาชนบทได้เกขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย คือมูลนิธิบูรณะชนบนแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ผู้มีบทบาทสำคัญในการก่อตั้งมูลนิธินี้ คือ ดร.ป๋วย  อึ๊งภากรณ์  อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้มีองค์กรทางศาสนา โดยเฉพาะศาสนาคริสต์ทั้งนิกายโปรเตสแตนท์และแคธอลิคต่างได้ทำงานพัฒนาชนบทแนวใหม่มาตั้งแต่ปี พ..2508  และได้ก่อตั้งสภาแคธอลิคแห่งประเทศไทยเพื่อการพัฒนาขึ้นอย่างเป็นทางการเมื่อปี พ..2516 หน่วยงานทั้งสองนี้ได้เป็นแหล่งประสบการณ์ของนักพัฒนาและองค์กรเอกชนพัฒนาชนบทรุ่นต่อๆมาผลจาการวิเคราะห์การทำงานและตั้งคำถามตามที่กล่าวข้างต้น ทำให้นักพัฒนาเอกชนกลุ่มนี้และนักวิชาการจำนวนหนึ่งได้ร่วมกันจัดสัมมนาเรื่อง วัฒนธรรมกับการพัฒนาชนบท เมื่อปลายปี พ..2524 เพื่อแสวงหาแนวทางให้การพัฒนาตั้งอยู่บนฐานวัฒนธรรมชุมชน ซึ่งหมายถึงการพิจารณาสภาพที่เป็นจริงของวิถีชีวิตชาวบ้าน ความเป็นมาหรือประวัติศาสตร์ ศักยภาพและพลังที่มีอยู่ในชุมชน ที่สำคัญ การสัมมนาในครั้งนี้ได้ชี้ให้เห็นว่าวัฒนธรรมกับการพัฒนาไม่ใช้สองสิ่งที่แยกจากกัน แต่เป็นสิ่งเดียวกัน การพัฒนาคือการเคลื่อนไหวทางวัฒนธรรมไปสู่สิ่งที่ดีกว่า นอกจากนั้น ยังเกิดการยอมรับว่าไม่มีใครรู้ปัญหาชาวบ้านดีไปกว่าชาวบ้าน และไม่มีใครแก้ปัญหาชาวบ้านได้ดีกว่าชาวบ้าน ฉะนั้นการส่งเสริมและสนับสนุนให้ชาวบ้านได้รวมตัวกันแก้ปัญหาของชุมชนจึงเป็นสิ่งจำเป็นหากวิเคราะห์ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นข้างต้น จะพบว่าสิ่งที่เกิดขึ้นนี้ได้สะท้อนลักษณะที่เป็นสากลและลักษณะเฉพาะของการพัฒนาชนบทไทยไปพร้อมกัน ลักษณะที่เป็นสากลก็คือ การเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์โลกทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองได้ส่งผลกระทบต่อแนวคิดและทิศทางการพัฒนาของไทยตลอดช่วง 2 ทศวรรษแรกของการพัฒนา หลังจากนั้นการทำงานได้หันเข้าสู่ลักษณะเฉพาะที่ให้ความสำคัญต่อวัฒนธรรมชุมชน การค้นหาประสบการณ์ระดับชุมชน ทำให้เกิดทฤษฎีทางสังคมศาสตร์ที่เกิดจากสภาพที่เป็นจริงของอดีตและปัจจุบันของสังคมไทย และการแสวงหาความร่วมมือจากทุฝ่าย ทั้งหมดนี้เป็นการพัฒนาอย่างรอบด้าน มีรากฐานอยู่ที่ระบบคุณค่าดั้งเดิม และแสวงหารูปแบบใหม่เพื่อสืบทอดจิตวิญญาณแห่งอดีตและการพึ่งตนเองสำหรับองค์กรเอกชนด้านการพัฒนาชนบท การสัมมนาในครั้งนั้นได้ถือเป็นส่วนหนึ่งของการปรับยุทธวิธีในการทำงาน คนเหล่านี้ได้ลงพื้นที่ เข้าหมู่บ้าน ทรรศนะเปิดกว้าง ยอมรับคุณค่า และศักยภาพของชาวบ้าน ส่งผลให้ค้นพบผู้นำที่มีความสามารถ และบางคนได้รับการยกย่องเป็นปราชญ์ชาวบ้าน คนเหล่านี้มีภูมิปัญญาที่ประกอบด้วยภูมิรู้และภูมิธรรม อย่างไรก็ตามในระยะแรกๆคำว่าภูมิปัญญาชาวบ้านใช้สื่อความหมายกันในวงนักพัฒนาเอกชนกลุ่มเล็กๆแล้วค่อยกระจายออกสู่หน่วยงานอื่นในเวลาต่อมาสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานภาครัฐที่ให้ความสนใจต่อภูมิปัญญาชาวบ้านเป็นหน่วยงานแรก  ดร.เอกวิทย์  ถลาง ซึ่งดำรงตำแหน่งเลขาธิการสำนักงานแห่งนี้ในขณะนั้นได้ให้ความสำคัญในเรื่องนี้ และได้จัดการประชุมสัมมนาครั้งสำคัญขึ้น 2 ครั้ง  ครั้งแรกจัดขึ้นที่จังหวัดนครราชสีมา เมื่อปี พ..2533 ในหัวข้อ ภูมิปัญญาชาวบ้าน และครั้งที่สอง จัดขึ้นที่ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย กรุงเทพมหานคร เมื่อปี พ..2534 ในหัวข้อ ภูมิปัญญาชาวบ้านกับการดำเนินงานด้านวัฒนธรรมและการพัฒนาชนบท การสัมมนาทั้งสองครั้งนี้เป็นแรงผลักดันสำคัญให้แนวคิดนี้เข้าสู่แนวนโยบายของรัฐ ดังเห็นได้จากแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 7(..2535-2539) ในส่วนที่ว่าด้วยวัฒนธรรมกับการพัฒนา
3.1     การให้ความหมาย  นักวิชาการและผู้ที่เกี่ยวข้อง สนใจงานด้านภูมิปัญญาต่างเห็นพ้องต้องกันในการให้ความหมายภูมิปัญญาชาวบ้าน ที่ให้ความสำคัญต่อองค์ความรู้  ความรู้ และความรอบรู้ในด้านต่างๆของชาวบ้าน และชาวบ้านสามารถนำสิ่งเหล่านั้นมาใช้แก้ปัญหาที่ต้องประสบในชีวิตประจำวัน เพื่อให้ชีวิต ครอบครัว และชุมชนอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข หรือเกิดดุลยภาพในทุกระดับ
3.2     องค์ประกอบ การให้ความหมายดังกล่าวข้างต้น ทำให้สามารถแยกองค์ประกอบของภูมิปัญญาชาวบ้านให้เห็นเด่นชัดขึ้น ดังนี้
1)  องค์ความรู้  หมายถึง ความรู้หลายอย่างมาเชื่อมโยงกันเป็นชุดความรู้  ด้วยเหตุนี้ กิจกรรมใดของชาวบ้านจะถูกยกให้เป็นกิจกรรมทางภูมิปัญญาก็ต่อเมื่อได้รับการพิสูจน์แล้วว่ากิจกรรมนั้นเกิดจากองค์ความรู้ ไม่ใช่ความรู้เดียว ตัวอย่าง เกษตรธาตุสี่ ของนายหรน  หมัดหลี  อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา  นายหรน  หมัดหลีเริ่มต้นทำการเกษตรจากการรู้จักชีวิตและครอบครัวของตัวเอง ในฐานะเกษตรกรยากจน เขาต้องรู้จักพืชที่ต้องการจะปลูกทุกชนิดเป็นอย่างดี และนำความรู้เหล่านั้นมาวางแผนการเพาะปลูก พืชชนิดใดจะให้ผลภายใน 1 เดือน  3 เดือน  6 เดือน  และ12 เดือน เพื่อให้ครอบครัวมีอาหารและรายได้ตลอดปี  นอกจากนั้น นายหรน  หมัดหลียังมีความรู้เรื่องดิน ก่อนปลูกพืชทุกชนิดต้องมีการทดสอบว่าเหมาะสมกับดินบริเวณนั้นหรือไม่ มีความรู้เกี่ยวกับธรรมชาติและสังคมของพืช  ความรู้นี้มีพื้นฐานมาจากการร่ำเรียนแพทย์แผนไทย ทำให้เขามองพืชทุกชนิดว่ามีธาตุสี่ ได้แก่ ดิน น้ำ ลม และไฟ เช่นเดียวกับคน และได้ใช้ความรู้นี้มาวางหลักในการเพาะปลูกไม้ผล ไม้ยืนต้น หลักในการปลูกก็คือการนำพืชที่มีลักษณะตรงข้ามกันมาปลูกในหลุมเดียวกัน เช่น พืชที่มีธาตุน้ำต้องปลูกคู่กับพืชที่มีธาตุไฟ เป็นต้น การปลูกพืชในลักษณะนี้จะไม่ทำให้ต้นไม้แต่ละชนิดส่งผลกระทบซึ่งกันและกัน ต้นไม้แต่ละชนิดต่างให้ดอกผลตามธรรมชาติของมันเองนายหรน  หมัดหลี เห็นว่าไม้ผลพันธุ์ดี เช่น ทุเรียนหมอนทองมีราคาแพง คนยากจนไม่มีกำลังซื้อ เขาจึงปลูกทุเรียนพื้นบ้าน ซึ่งมีราคาถูก ทำให้คนจนในชุมชนสามารถซื้อไปบริโภคได้ ตลาดของเขาจึงอยู่ที่หมู่บ้าน ไม่ใช่การส่งออกสู่เมืองใหญ่ หรือต่างประเทศ ตลาดของนายหรน  หมัดหลีจึงเป็นตลาดของคนยากคนจน หวังพึ่งตนเอง ทำให้เขาไม่ตกเป็นเบี้ยล่างของพ่อค้าการเชื่อมโยงความรู้หลายด้านนี้เข้าด้วยกัน กลายเป็นองค์หรือชุดความรู้ด้านการเกษตรของนายหรน  หมัดหลี ที่เรียกว่า เกษตรกรรมธาตุสี่
2)  เทคนิค หรือวิธีการ หมายถึง กลวิธีหรือการจัดการในเรื่องใดเรื่องหนึ่งให้สอดคล้องกับองค์ความรู้ เทคนิคหรือวิธีการจะมีความแตกต่างกันออกไปตามประเภทของภูมิปัญญา เช่น เทคนิคการผลิต เทคนิคการจัดการ และเทคนิคการเชื่อมประสานความสัมพันธ์ เป็นต้นตัวอย่าง  จากองค์ความรู้ด้านการเกษตรธาตุสี่ ดังกล่าวแล้วข้างต้น นายหรน  หมัดหลีได้นำมาปฏิบัติผ่านทางเทคนิคหรือวิธีเพาะปลูกพืช  ในช่วงแรก เขาเริ่มปลูกพริก มะเขือ แตงกวา และตะไคร้ จากนั้นจึงปลูกกล้วย และไม้ผลไม้ยืนต้นอื่นๆตามมา โดยเฉพาะไม้ผลไม้ยืนต้น จะปลูกหลุมละ 3 ต้น แต่ละต้นมีธาตุต่างกันตามหลักการเพาะปลูกที่กล่าวข้างต้น นอกจากนั้น นายหรน  หมัดหลียังคำนึงถึงความสูง รูปทรง และลักษณะการให้ดอกออกผลของไม้แต่ละต้นที่นำมาปลูกร่วมกัน ในด้านการดูแลหรือบำรุงรักษาต้นไม้ นายหรน  หมัดหลีมีวิธีปฏิบัติที่สอดคล้องกับธรรมชาติ เช่น ไม่ถางหญ้าในหน้าแล้ง ใช้ปุ๋ยจากซากพืชซากสัตว์ที่เน่าเปื่อย และไม่ตัดแต่งกิ่ง เพราะเชื่อว่าธรรมชาติจะจัดการสิ่งเหล่านี้ด้วยตัวมันเอง กล่าวคือกิ่งที่อยู่ไม่ได้ ไม่เหมาะสมก็จะร่วงหล่นไปเองที่กล่าวมาทั้งหมดนี้เป็นเทคนิคหรือวิธีการเพาะปลูกพืช ที่ทำให้สวนของนายหรน หมัดหลีมีลักษณะเฉพาะ แตกต่างจากสวนของเกษตรกรอื่นๆ แต่สอดคล้องกับองค์ความรู้ของตนที่สั่งสมมา
3)  การรับใช้ชีวิตในปัจจุบัน  ภูมิปัญญาชาวบ้านไม่ใช่เรื่องเล่าในอดีต ไม่ใช่ของเก่าที่แสดงในพิพิธภัณฑ์ แต่เป็นสิ่งที่มีตัวตน และผ่านการพิสูจน์แล้วว่าสามารถรับใช้วิถีชีวิตผู้คนในปัจจุบัน หรือมีพลังในสังคมยุคใหม่การทำการเกษตรแบบธาตุสี่ของนายหรน  หมัดหลีได้พิสูจน์ให้เห็นว่าครอบครัวของเขามีอาหาร มีรายได้ มีคุณภาพชีวิตที่ดี และส่งเสียลูกจำนวน 11 คนให้ได้รับการศึกษาอย่างถึง และเกือบทั้งหมดเรียนจบระดับอุดมศึกษา  และการเกษตรแบบนี้ยังได้กลายเป็นตัวแบบหรือแบบอย่างที่ดีที่เกษตรกรทั่วประเทศเดินทางมาเรียนรู้อย่างไม่ขาดสายการพิจารณาองค์ประกอบของภูมิปัญญาชาวบ้าน ในฐานะความรู้ที่กล่าวนี้ ทำให้สามารถวิเคราะห์ต่อไปได้ว่า ภูมิปัญญาชาวบ้านน่าจะเป็นคำเดียวกับเทคโนโลยีชาวบ้าน เพราะเทคโนโลยีได้รวมเอาความรู้และเทคนิคไว้ด้วยกัน เทคโนโลยีไม่ใช่เครื่องมือ หรือเครื่องใช้ไม้สอยเพียงอย่างเดียวตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ การหมักปลาร้าในภาคอีสาน น้ำปูในภาคเหนือ และน้ำบูดูในภาคใต้ต่างเป็นภูมิปัญญาและเทคโนโลยีในตัวมันเอง

          3.3  ประเภทของภูมิปัญญาชาวบ้าน ในฐานะของความรู้ ภูมิปัญญาชาวบ้านสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท ดังนี้
1)  ภูมิปัญญาชาวบ้านที่เป็นนามธรรม ได้แก่ โลกทัศน์และชีวทัศน์ เป็นปรัชญาในการดำเนินชีวิต เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการเกิด แก่ เจ็บ ตาย คุณค่าและความหมายของทุกสิ่งในชีวิตประจำวัน
2)   ภูมิปัญญาชาบ้านที่เป็นรูปธรรม หรือแบบแผนความประพฤติปฏิบัติ เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับลักษณะเฉพาะด้าน เช่น การทำมาหากิน การเกษตร หัตถกรรม ศิลปะและอื่นๆ

3.3  ภูมิปัญญาชาวบ้านเชิงกระบวนการ  นอกจากการพิจารณาภูมิปัญญาชาวบ้านในฐานะความรู้แล้ว อีกแง่หนึ่งสามารถพิจารณาได้ในเชิงกระบวนการ ซึ่งจะสอดคล้องกับสภาวะของภูมิปัญญาที่มีลักษณะเลื่อนไหล หรือพลวัตสูง ไม่หยุดนิ่งตายตัว และมีพัฒนาการตลอดเวลาการพิจารณาภูมิปัญญาชาวบ้านเชิงกระบวนการนี้ ควรเริ่มต้นวิเคราะห์ให้เห็นการปะทะกันระหว่างวัฒนธรรมสองกระแส กระแสแรกคือ วัฒนธรรมหรือแนวคิดเก่า ซึ่งเป็นสภาวะที่ดำรงอยู่ในขณะนั้น และการเข้ามาของวัฒนธรรมหรือแนวคิดใหม่ ซึ่งจะมีลักษณะขัดแย้งกัน การปะทะกันระหว่างวัฒนธรรมหรือสภาวะทั้งสองกระสนี้จะนำไปสู่การปรับตัวของชาวบ้านเพื่อความอยู่รอด ผลจากการปรับตัวนี้จะนำไปสู่กระแสที่สาม หรือกระแสทางเลือก อันเป็นผลจากการสังเคราะห์วัฒนธรรมสองกระแสเข้าด้วยกัน กระแสที่สามหรือกระแสทางเลือกนี้จะช่วยลดความขัดแย้งและลดการกวัดแกว่งในวิถีชีวิตของผู้คน เกิดความราบรื่นในการดำเนินชีวิต ซึ่งรวมถึงการสืบทอดวัฒนธรรมหรือคุณค่าของสังคมให้ดำรงต่อไปตัวอย่าง  การใช้แรงงานของชาวบ้านในจังหวัดสงขลา ที่ได้พัฒนาระบบแลกเปลี่ยนแรงงานของตนขึ้น เพื่อรองรับการเข้ามาของระบบเกษตรกรรมแบบใหม่ในอดีต ชาวบ้านในภาคใต้มีวัฒนธรรม-ประเพณีอย่างหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับการใช้แรงงาน คือการออกปาก-กินวาน ซึ่งเทียบได้กับการลงแขกในภาคกลาง เอามื้อในภาคเหนือ และเอาแฮงในภาคอีสาน การออกปาก-กินวานก็คือ การขอแรงหรือออกปากหรือวานให้เพื่อนบ้านมาช่วยทำงานอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งเป็นงานเร่งด่วนให้เสร็จทันเวลา เมื่อออกปากหรือวานคนอื่นมาช่วยงาน เจ้าของงานหรือเจ้าภาพหรือผู้ออกปากจะต้องจัดเตรียมอาหารคาวหวานไว้เลี้ยงดูผู้ที่มาช่วยงาน ทำให้เกิดคำซ้อนขึ้นมาอีกคำคือ กินวาน  แรงงานจากการออกปาก-กินวานนี้จะใช้เกือบทุกโอกาส เช่น งานในเรือกสวน ไร่ นา การสร้างบ้านเรือนที่อยู่อาศัย และงานประเพณี-พิธีกรรมต่างๆที่ถูกกำหนดด้วยเวลา เป็นต้นต่อมาเมื่อชาวบ้านในภาคใต้ โดยเฉพาะชาวสวนยางพาราต้องต้อนรับการเข้ามาของวัฒนธรรมใหม่ คือระบบเกษตรกรรมแบบพืชเดี่ยว หรือการทำสวนยางพันธุ์ดี ที่ต้องใช้แรงงานแบบเข้มข้น โดยมีระบบแรงงานใหม่ คือการจ้างงาน ซึ่งเป็นระบบการแลกเปลี่ยนแบบต่างตอบแทน โดยใช้หลักเหตุและผลทางเศรษฐกิจเข้ามาเป็นตัวกำหนด เข้ามาเป็นฐานรองรับการทำสวนยางแบบใหม่การปะทะกันระหว่างวัฒนธรรมเก่าและใหม่นี้ ได้ก่อปัญหาให้แก่ชาวบ้านหรือเกษตรกรในพื้นที่ภาคใต้ เพราะระบบแรงงานแบบเดิม คือออกปาก-กินวานไม่สามารถรองรับการใช้แรงงานแบบเข้มข้นในสวนยางพันธุ์ดี ขณะเดียวกันชาวบ้านก็ไม่มีเงินทุนเพียงพอที่เข้าสู่ระบบจ้างแรงงาน จึงก่อให้เกิดการผสมผสานวัฒนธรรมเก่าและใหม่เข้าด้วยกัน

สุนทรียศาสตร์ : ความไพเราะของดนตรี

คุณค่าของสุนทรียศาสตร์

สุนทรียศาสตร์เป็นเรื่องของความรู้ที่เกี่ยวข้องกับความสวย ความงาม และความไพเราะ ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่มนุษย์ทุกคนพึงปรารถนา เป็นคุณสมบัติที่ทุกคนต้องการ จริง ๆ แล้ว สุนทรียะยังหมายรวมถึงคุณสมบัติที่สามารถรับรู้ของหู ตา จมูก ลิ้น กาย และใจพึงปรารถนา นอกจากความสวยและความงามที่ใช้ดูด้วยตาเป็นสื่อ ยังมีความไพเราะที่ต้องฟังด้วยหู กลิ่นหอมที่ต้องดมด้วยจมูก รสชาติที่ต้องชิมด้วยลิ้น การสัมผัสที่จะต้องใช้อวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย และต้องใช้จิตใจเป็นความรู้สึกในการรับรู้สุนทรียะจะต้องมีสื่อเพื่อที่จะช่วยให้คนได้รับรู้ ปราศจากสื่อก็คือการปราศจากการรับรู้ ไม่มีสื่อเสียแล้วมนุษย์ไม่สามารถที่จะชื่นชมงานศิลปะใด ๆ ได้ คนตาบอดไม่สามารถชื่นชมความสวยงามได้ฉันใด คนหูหนวกก็ไม่สามารถชื่นชมเสียงดนตรีที่ไพเราะฉันนั้นดนตรีเป็นสุนทรียะที่เกี่ยวข้องกับเสียง ดนตรีเกี่ยวข้องกับความไพเราะ เมื่อพูดถึงดนตรีแล้วก็หมายถึงความไพเราะ แต่ยังมีรายละเอียดแยกย่อยลงไปอีกว่า เป็นความไพเราะของใคร เพราะว่าแต่ละคนรับรู้ความไพเราะที่แตกต่างกันคนละระดับกัน ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ของแต่ละคน คนจึงฟังดนตรีกันหลากหลายต่างชนิดกัน ชื่นชอบเพลงไม่เหมือนกันความรู้สึกของคำว่า รักคุณเท่าฟ้าทุกคนรู้โดยรวม ๆ ว่าฟ้านั้นกว้าง แต่ความกว้างของฟ้าของแต่ละคนไม่เท่ากันและไม่เหมือนกัน ฟ้าเป็นโลกทัศน์ของแต่ละคน ฟ้าเป็นความรู้สึกที่มั่นคงยิ่งใหญ่และฟ้าเป็นความรู้สึกที่อบอุ่นละเอียดอ่อนทุกคนรู้สึกว่า เหงา  อธิบายไม่ได้แต่รู้สึกได้ คำว่า เหงาของบางคนมีความหมายเล็กเกินไปกว่าความเหงาจริง เพราะรู้สึกว่าเราเหงามากกว่านั้น เหงาเหงาเหงาจะเขียนอีกสักกี่ตัว คำหรือภาษา ก็ยังเล็กไปสำหรับความรู้สึกที่มีความเหงาจริงความรู้สึกปีติ ความอิ่มเอิบ ความภูมิใจ เมื่อได้พบกับความสวยงาม ความงาม ความไพเราะ ได้พบกับบรรยากาศ รสนิยม และคุณค่าที่ดี ความรู้สึกปีติเป็นพลังกายในที่จะสร้างความเชื่อมั่นให้เกิดขึ้นกับจิตใจ สร้างสรรค์สิ่งใหม่ให้เกิดขึ้นคนไปดูหนังผี เป็นสุนทรียะที่เกิดขึ้นจากความกลัว ที่จริงแล้วคนดูหนังได้เตรียมตัวกลัวผีไปจากบ้านแล้ว ถ้าหนังผีสามารถสร้างความกลัวให้กับผู้ชมได้ถึงใจ คือ สร้างให้ผู้ชมเกิดความกลัวได้ ภาพยนตร์เรื่องนั้นก็เป็นที่ชื่นชอบของผู้ชม แต่ถ้าหากว่าภาพยนตร์ไม่สามารถทำให้ผู้ชมกลัวได้ คือไม่น่ากลัว หนังผีเรื่องนั้นก็เป็นเรื่องที่ไม่มีใครอยากดู เพราะหัวใจของหนังผีก็คือการสร้างความกลัวให้เกิดขึ้นกับผู้ชม

ดนตรีในความหมายของสุนทรียศาสตร์
ดนตรีเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ ศาสตร์ของดนตรีเป็นความรู้ที่เกี่ยวกับเสียงลักษณะและคุณภาพของเสียง หนา-บาง สูง-ต่ำ ดัง-เบา สั้น-ยาว เล็ก-ใหญ่ ฯลฯ แหล่งกำเนิดเสียง คุณสมบัติของเสียง ศาสตร์เป็นความรู้ที่สามารถสืบทอดการเรียนรู้โดยการอ่านบอกเล่า ถ่ายทอดสู่กันฟัง การสืบค้นคว้าจากหลักฐานต่าง ๆ ความรู้สามารถคิดหาเหตุผลมาประติดประต่อได้ ความรู้สามารถเรียนรู้ได้โดยการจดจำ ท่องบ่น ทบทวน และที่สำคัญก็คือความรู้สามารถเรียนทันกันหมด ความรู้ทุกคนสามารถเรียนรู้ได้การ ทรงจำดนตรี เอาไว้โดยการท่องบ่นแบบนกแก้วนกขุนทอง เป็นแต่เพียงคุณค่าของศาสตร์เท่านั้น การท่องบ่นเป็นการทำซ้ำ ไม่สามารถที่จะสร้างสรรค์ได้ ขาดความมีชีวิตชีวา รวมทั้งความรู้รอบ ๆ ดนตรี ไม่ว่าจะเป็นชื่อเสียง กิตติศัพท์ เกียรติคุณ เป็นแต่เพียงแต่องค์ประกอบนอกเหนือดนตรีทั้งสิ้นสุนทรียะเป็นเรื่องของศิลป์ ดนตรีเป็นศิลปะของการเรียบเรียงเสียง นำเอาเสียงที่มีความสูง-ต่ำ สั้น-ยาว หนา-บาง ดัง-เบา มาต่อกันโดยอาศัยความรู้ การนำเสียงมาต่อกันให้มีศิลปะ จึงจะเกิดเป็นความไพเราะขึ้น ถ้านำเสียงเอามาต่อกันแล้วไม่มีศิลปะก็ไม่เป็นดนตรี กลายเป็นเสียงอื่น ๆ ไปความไพเราะของเสียงดนตรีเป็นสุนทรียะ สืบทอดโดยการเล่าสู่กันฟังอย่างความรู้ไม่ได้ อ่านความไพเราะไม่ได้ ท่องจำความไพเราะไม่ได้ อธิบายไม่ได้ ความไพเราะของดนตรีจะต้องสัมผัสด้วยตนเอง โดยอาศัยประสบการณ์ตรงเท่านั้นการสัมผัสความไพเราะเป็นเรื่องเฉพาะตัว เฉพาะคนไม่เกี่ยวกับวัย ไม่เกี่ยวกับวุฒิ ไม่เกี่ยวกับปัญญา ไม่เกี่ยวกับปรัชญา แต่ความไพเราะอยู่นอกเหนือปรัชญาและปัญญา
               
 การสร้างประสบการณ์ทางดนตรี
ดนตรีเป็นสุนทรียะหรือที่เรียกกันว่า ความงาม ความไพเราะ เป็นเรื่องของนามธรรมยากที่จะอธิบายให้เข้าใจด้วยภาษาเพราะแต่ละคนจะมีรสนิยมในเรื่องของความงามที่ต่างกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับลักษณะเฉพาะของแต่ละบุคคล ประสบการณ์ที่แต่ละคนได้รับจะมีอิทธิพลต่อความชอบ ความรัก ความไพเราะ ความงาม ที่เกิดขึ้นในแต่ละคน ถึงแม้ว่าสุนทรียะทางดนตรีเป็นเรื่องนามธรรมเกิดขึ้นจำเพาะตัวบุคคลแต่เราสามารถสร้างประสบการณ์ให้เกิดการเรียนรู้ได้

ขั้นตอนในการสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ทางสุนทรียะที่ควรคำนึงถึง คือ
1. ความตั้งใจจดจ่อ ประสบการณ์ทางสุนทรียะต้องผนวกความตั้งใจจดจ่อต่อศิลปะ หรืออาจจะพูดอีกแง่หนึ่งว่าต้องมีความศรัทธาต่องานศิลปะ ความตั้งใจจดจ่อหรือความศรัทธามีความจำเป็นอย่างยิ่งในการเข้าถึงงานศิลปะ และในทำนองเดียวกันความไม่ตั้งใจไร้ศรัทธาเป็นการปิดกั้นสุนทรียะของศิลปะตั้งแต่แรกเริ่ม การฟังดนตรีด้วยความตั้งใจจดจ่อ ฟังด้วยความศรัทธา โอกาสที่จะตอบสนองต่อเสียงดนตรีที่ได้ยินมีสูงทั้งทางร่างกายและทางความรู้สึก การที่ได้ยินเสียงดนตรีตามภัตตาคารต่าง ๆ ในระหว่างการรับประทานอาหารหรือเสียงดนตรีในงานเทศกาลต่าง ๆ เสียงดนตรีเหล่านั้นได้ยินผ่าน ๆ หูเราไปโดยมิได้ตั้งใจฟัง ซึ่งไม่สามารถสร้างความงามทางสุนทรียะให้เกิดขึ้นได้ สุนทรียะทางศิลปะเน้นความรู้สึกทางจิตมากกว่าความรู้สึกทางกายตัวอย่างการไปชมภาพยนตร์ที่เกี่ยวข้องกับความกลัวเช่น หนังผีเรารู้ว่าเป็นหนังผีเกี่ยวข้องกับความกลัว แต่เราก็ยังอยากดูและได้เตรียมตัวกลัวจากบ้านไปดูหนังผี คือมีความศรัทธาในความกลัวผีก่อนที่จะดูหนัง ในขณะที่เราดูหนังเราก็จินตนาการว่าจะต้องมีผีอยู่ทุกขณะจิต ความเงียบ ความวังเวง ความมืด เสียงระฆังจากโบสถ์หรือเสียงต่ำ ๆ ของเสียงดนตรี ช่วยสร้างบรรยากาศของความกลัวมากยิ่งขึ้น ทั้ง ๆ ที่มีผู้ชมเต็มโรงหนัง เราก็มีความรู้สึกว่าเราอยู่โดดเดี่ยวเผชิญกับผี แม้กระทั่งเพื่อนที่นั่งอยู่ข้าง ๆ สะกิดให้ตื่นจากภวังค์ เราก็เข้าใจเอาว่าผีสะกิดด้วยซ้ำไป ทั้งนี้ทั้งนั้นเพราะเราได้สร้างความตั้งใจกลัว ศรัทธาในความกลัวไว้ก่อนแล้ว
2. การรับรู้ ประสบการณ์ทางสุนทรียะต้องอาศัยการรับรู้ การรับรู้ เป็นความรู้ที่จะรู้ว่าสิ่งนั้น ๆ คืออะไร คุณภาพดีไหม และมีความเกี่ยวพันกันอย่างไร เป็นเรื่องของความรู้ไม่ใช่เรื่องของความจำหรือการจินตนาการ การรับรู้เป็นการรวบรวมความรู้สึกทั้งภายนอกและภายในที่มีผลต่อสิ่งเร้า แล้วเอามาสร้างเป็นความคิดรวบยอดต่องานศิลปะนั้น ๆ ซึ่งสามารถแยกออกเป็นขั้นตอนได้ว่าเป็นความรู้สึก การรับรู้ และการหยั่งรู้หรือการสร้างมโนภาพการรับรู้ทางดนตรีนั้นเป็นเรื่องที่ค่อนข้างยากเพราะการรับรู้ทางดนตรีไม่สามารถอ่านได้จากภาษาเหมือนวรรณคดี หรือสามารถดูได้ด้วยตาแบบภาพวาด แต่การรับรู้ทางดนตรีต้องอาศัยจากการฟังเสียงเพียงอย่างเดียว จะฟังดนตรีให้รู้เรื่องไม่ได้ เพราะดนตรีไม่เป็นเรื่อง การรับรู้ทางดนตรี จึงต้องฟังว่าอะไรเกิดขึ้นในเพลง จะอาศัยให้ใครบอกไม่ได้ ต้องรับรู้ด้วยตนเอง
3. ความประทับใจ ประสบการณ์ทางสุนทรียะต้องอาศัยความกินใจหรือประทับใจในการสร้างประสบการณ์ทางสุนทรียะนั้น อารมณ์ที่กระทบต่องานศิลปะสามารถแยกออกเป็นสองขั้นตอนด้วยกันคือ สภาพของจิตที่เปลี่ยนไปกับความรู้สึกที่สนองต่อจิต ซึ่งเกิดขึ้นตามในลำดับต่อมา เช่น ความดันเลือดในร่างกายเปลี่ยนแปลงให้หน้าแดง หน้าซีด การหายใจถี่แรง หรือการถอนหายใจ ความรู้สึกโล่งอกหรืออัดแน่น รู้สึกง่วงนอนหรือกระปรี้กระเปร่า สิ่งเหล่านี้เป็นความรู้สึกที่มีผลมาจากแรงกระทบทางอารมณ์ทั้งสิ้นความกินใจต่อเหตุการณ์และเสียงที่ได้ยิน ทั้งเหตุการณ์และเสียงที่กินใจจะจารึกจดจำไว้ในสมอง ถ้าโอกาสหวนกลับมาอีก ความกินใจที่เคยจดจำไว้ก็จะปรากฏขึ้นในความรู้สึกอีก การที่เราเคยได้ยินเสียงดนตรีในงานศพของคนที่เราเคารพรักและหวงแหน หรือในขณะที่เราอยู่ในอารมณ์เศร้า เรามักจะจำเหตุการณ์วันนั้นและเสียงเพลงที่ได้ยินอย่างแม่นยำ
 4. ความรู้ ประสบการณ์ทางสุนทรียะต้องอาศัยความรู้ การเรียนรู้ของคนอาศัยประสบการณ์ สุนทรียะเป็นส่วนหนึ่งของประสบการณ์ ความรู้ความเข้าใจเป็นประสบการณ์ที่สามารถแยกแยะหรือวิเคราะห์ การนำมาปะติดปะต่อหรือการสังเคราะห์การสรุปรวบยอด การจัดหมวดหมู่หรือแม้การประเมินผล สิ่งเหล่านี้อาศัยประสบการณ์ ความรู้ ความเข้าใจ เป็นตัวสำคัญตัวอย่างเช่น การไปเดินที่ศูนย์การค้าได้มีโอกาสเห็นเสื้อหลาย ๆ ตัว หลาย ๆ ครั้ง เป็นประสบการณ์ที่จะเลือกเฟ้นเสื้อตัวที่สวยที่สุด จากเสื้อที่เราเลือกแล้วซึ่งเป็นเสื้อที่สวยและพอใจจนซื้อมาใช้ เสื้อหลาย ๆ ตัวเหล่านั้นก็ยังมีเสื้อที่เราชอบที่สุดอีกเพียงไม่กี่ตัว โดยมีข้อมูลอื่น ๆ มาพิจารณา เช่น เหมาะสมกับโอกาสที่จะใส่ วัยของผู้ใช้ เป็นต้นในแง่สุนทรียะของดนตรีนั้น การฟังมาก ๆ เป็นประสบการณ์ที่สำคัญในการที่ยกระดับสุนทรียะของแต่ละคน เพราะสุนทรียะเป็นเรื่องเฉพาะตัวที่จะต้องสร้างด้วยตนเอง การไม่มีประสบการณ์ในการฟังดนตรีเปรียบเสมือนผู้ที่เดินหลงทางไม่รู้ว่าจะไปทิศทางใด การแก้ปัญหาคือเลือกสักหนึ่งทางแล้วเดินไป อาศัยเวลา ประสบการณ์ระหว่างทางเป็นองค์ประกอบบอกให้เราทราบว่าหลงทางหรือถูกทาง ในทำนองเดียวกันการฟังดนตรีทุกชนิดจะเป็นตัวบอกให้เราทราบว่าดนตรีชนิดใดที่เราชอบและจากดนตรีที่เราชอบเหล่านั้นจะเป็นสะพานเชื่อมไปสู่สุนทรียะในที่สุด
5. ความเข้าใจวัฒนธรรม ประสบการณ์ทางสุนทรียะต้องอาศัยความเข้าใจวัฒนธรรมที่เป็นองค์ประกอบของศิลปะนั้น ๆ เพราะศิลปะเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมการที่เราเข้าใจวัฒนธรรมเป็นผลให้เราเข้าใจศิลปะอีกโสตหนึ่งด้วยเพราะ ศิลปะของชนกลุ่มใดย่อมเหมาะกับชนกลุ่มนั้นอย่างวัฒนธรรมในการกิน เราอาจจะสงสัยว่าฝรั่งกินแฮมเบอร์เกอร์ ขนมปังทาเนย จะอยู่ท้องได้อย่างไร ในทำนองเดียวกันกับฝรั่งก็สงสัยเราว่ามีน้ำพริกอยู่ถ้วยหนึ่ง ผักอยู่จานหนึ่งแล้วมีคนนั่งล้อมรอบ ๆ 4-5 คน ข้าวคนละจานกินอะไรกัน จะมีอาหารพอกินหรือ คำถามทำนองนี้เกิดขึ้นอยู่เสมอกับคนต่างถิ่น แต่ผู้กินเองมีความอร่อยกับอาหารของตัวเอง แต่ในทางตรงข้าม การไปกินอาหารต่างวัฒนธรรมกลับทำให้รู้สึกกินไม่อิ่ม กินไม่ถูกปาก ฯลฯ การกินเป็นวัฒนธรรมที่ต้องอาศัยประสบการณ์สั่งสมประสบการณ์และนิสัยของการกินเป็นเวลานาน จนเกิดความเคยชินและติดเป็นนิสัย จุดความ อร่อยของแต่ละคนไม่เหมือนกัน ขึ้นอยู่กับความเคยชินและประสบการณ์การฟังดนตรีให้เกิดความงามทางสุนทรียะ ต้องอาศัยความเคยชิน ประเพณีนิยม วัฒนธรรมของกลุ่มคนนั้น ดนตรีในหัวใจของแต่ละคนนั้นมีความแตกต่างกันคนถีบสามล้ออาจจะมีเสียงเฟืองล้อกระทบกับโซ่สายพานเป็นซิมโฟนีของเขา คนอยู่ริมทะเลจะมีเสียงลมเสียงคลื่นขับกล่อม หรือคนที่มีบ้านใกล้ทางรถไฟไม่ได้ยินเสียงรถไฟแล้วนอนไม่หลับ เสียงเหล่านี้เกิดขึ้นจากความเคยชินจนกลายเป็นซิมโฟนีในหัวใจของแต่ละคน การที่เราได้ยินได้ฟังลาวดวงเดือนทั้งทางตรง ทางอ้อม ฉบับย่อ ขยายดัดแปลง ทุกวันจนเกิดความเคยชิน ย่อมเข้าใจลาวดวงเดือนมากกว่าคอนแชร์โตของโมสาร์ต เบโธเฟน ซึ่งได้ฟังเป็นครั้งแรก ผลก็คือความซาบซึ้งทางสุนทรียะย่อมแตกต่างกันการสร้างประสบการณ์ทางสุนทรียะต้องอาศัยองค์ประกอบที่กล่าวมาแล้วทั้ง 5 ประการ ศิลปะทุกแขนงที่สร้างขึ้นโดยศิลปิน ศิลปินเองก็ต้องอาศัยองค์ประกอบที่กล่าวมาแล้วเช่นกัน ในการสร้างงานศิลปินเปรียบเสมือนเครื่องส่งวิทยุ ผู้ฟังผู้ชมเป็นเครื่องรับวิทยุ อย่างไรก็ตามทั้งศิลปินและผู้ฟังผู้ชมต้องมีคลื่นวิทยุที่มีความถี่ตรงกันจึงจะรับได้ ถึงแม้ว่าจะมีเครื่องส่งและเครื่องรับ แต่ถ้าความถี่คลื่นไมตรงกันก็ไม่สามารถที่จะรับได้ดนตรีเป็นศิลปะที่มีความงาม ความละเอียดอ่อน ที่จะต้องอาศัยการสั่งสมประสบการณ์ที่จะเข้าถึง ได้รับสุนทรียรส ทุก ๆ คนมีโอกาสมีสิทธิที่จะเข้าถึงความงามอันนั้น เพราะความงามมีอยู่แล้วในตัวแต่ละคน เพียงแต่ว่าความงามอันนั้นจะถูกขัดเกลาและนำมาใช้มากน้อยเพียงใดเท่านั้น

ความจริงของชีวิต

หลักกรรมหรือกฎแห่งกรรมมีอยู่ว่า บุคคลทำกรรมใดไว้ ดีก็ตาม ชั่วก็ตาม เขาย่อมต้องได้รับผลแห่งกรรมนั้นแต่เนื่องจากกรรมบางอย่างหรือการกระทำบางคราวไม่มีผลปรากฏชัดในทันที ผู้มีปัญญาน้อยจึงมองไม่เห็นผลแห่งกรรมของตน ทำให้สับสนและเข้าใจไขว้เขว เพราะบางทีกำลังทำชั่วอยู่แท้ ๆ มีผลดีมากมาย เช่น ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข หลั่งไหลเข้ามาในชีวิต ตรงกันข้ามบางคราวกำบังทำความดีอยู่อย่างมโหฬาร แต่กลับได้รับความทุกข์ทรมานต่าง ๆ มีผลไม่ดีมากมาย เช่น ความเสื่อมลาภ เสื่อมยศ ถูกนินทาว่าร้ายถูกสบประมาท และความเจ็บไข้ได้ป่วยหลั่งไหลเข้ามาในชีวิตความสลับซับซ้อนดังกล่าว ทำให้ผู้รับผลของกรรมสับสน เกิดความไม่แน่ใจว่าสิ่งที่ตนทำนั้นเป็นความชั่วจริง ๆ หรือตามความเป็นจริงแล้ว กรรมชั่วที่เขากำลังทำอยู่ยังไม่ทันให้ผล กรรมดีที่เขาเคยทำไว้ก่อนถึงวาระให้ผลในขณะที่คนผู้นั้นกำลังทำชั่วอยู่ จึงทำให้เขาได้รับผลดีถ้าเปรียบทางวัตถุก็จะมองเห็นง่ายขึ้น เช่นคน ๆ หนึ่งกำลังปลูกต้นไม้อันเป็นพิษอยู่ มีผลไม้หอมหวานอร่อยสุกมากมายในสวนของเขา  เขาได้ลิ้มรสอันอร่อยของผลไม้ซึ่งเขาปลูกไว้ก่อน ต่อมาต้นไม้มีพิษออกผลในขณะที่เขากำลังปลูกต้นไม้ที่มีผลอร่อยอยู่ เขาบริโภคผลไม้มีพิษ รู้สึกได้รับทุกเวทนาข้อนี้ฉันใด กรรมกับผู้กระทำกรรมก็ฉันนั้น กรรมดีย่อมให้ผลดี กรรมชั่วย่อมให้ผลชั่ว แต่เพราะกรรมจะให้ผลก็ต่อเมื่อสุกเต็มที่แล้ว (Maturation) และมีความสลับซับซ้อนมาก จึงทำให้งง ทั้งนี้ สามเหตุหนึ่งก็เพราะสติปัญญาของคนทั่วไปมีอยู่อย่างจำกัดมาก เหมือนแสงสว่างน้อย ๆ ไม่พอที่ส่องให้เห็นวัตถุอันสลับซับซ้อนอยู่มากมายในบริเวณอันกว้างใหญ่และบริเวณนั้นถูกปกคลุมอยู่ด้วยความมืด เมื่อใดดวงปัญญาของเขาแจ่มใสขึ้น เขาย่อมมองเห็นตามเป็นจริง ปัญญาของเขายิ่งแจ่มใสขึ้นเพียงใดเขาย่อมสามารถมองเห็นเรื่องกรรมและความสบับซับซ้อนของชีวิตมากขึ้นเพียงนั้น เหมือนแสงสว่างมีมากขึ้นเพียงใด ผู้มีจักษุปกติย่อมสามารถมองเห็นวัตถุอันละเอียดมากขึ้นเพียงนั้นสิ่งใดที่ละเอียดมาก เช่น จุลินทรีย์ มองด้วยตาเปล่าไม่เห็นนักวิทยาศาสตร์เขาใช้เครื่องมือคือกล้องจุลทรรศน์ซึ่งมีอานุภาพขยายเป็นพัน ๆ เท่าของวัตถุจริง จึงทำให้มองเห็นได้ สิ่งใดอยู่ไกลมากระยะสายตาธรรมดาไม่อาจทอดไปถึงได้นักวิทยาศาสตร์เขาใช้กล้องส่องทางไกล จึงสามารถมองเห็นได้เหมือนวัตถุซึ่งปรากฏอยู่ ณ ที่ใกล้ข้อนี้ฉันใดผู้ได้อบรมจิตและปัญญาแล้วก็ฉันนั้น เป็นนักวิทยาศาสตร์ทางจิต สามารถเห็นได้ละเอียดรู้ได้ไกลซึ่งเรื่องกรรมและผลของกรรม ชนิดที่สามัญชนมองไม่เห็นหรือมองให้เห็นได้โดยยาก ทั้งนี้ เพราะท่านมีเครื่องมือคือปัญญาหรือญาณสามัญชนไม่มีปัญญาหรือญาณเช่นนั้นจึงมองไม่เห็นอย่างที่ท่านเห็น เมื่อท่านบอกให้บากคนก็เชื่อตาม บางคนไม่เชื่อ ใครเชื่อก็เป็นประโยชน์แก่เขาเองทั่งด้านการดำเนินชีวิตและจิตใจ หาความสุขได้เองผู้เชื่อเรื่องกฎแห่งกรรม ได้กำไรกว่าผู้ไม่เชื่อคือทำให้เว้นชั่ว ทำดีได้มั่นคง ยั่งยืนกว่าผู้ไม่เชื่อ ทำให้เป็นคนดีในโลกนี้ จากโลกนี้ไปแล้วก็ไปบีนเทิงในโลกหน้าเมื่อประสบปัญหาชีวิตอันแสบเผ็ดก็สามารถทำใจได้ว่า มันเป็นผลของกรรมชั่วเมื่อประสบความรื่นรมย์ในชีวิตก็ไม่ประมาท มองเห็นผลแห่งกรรมดีและหาทางพอกพูนกรรมดีต่อไป

แหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม

     
อารยธรรมของมนุษย์แบ่งออกเป็น     ยุคก่อนประวัติศาสตร์    ยุคประวัติศาสตร์เนื่องจากดินแดนประเทศไทยเป็นดินแดนที่มีร่องรอยของมนุษย์มาตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ จนกระทั่งถึงยุคประวัติศาสตร์ มีการอพยพตั้งถิ่นฐานและการติดต่อสัมพันธ์กับคนหลากหลายกลุ่ม หลากหลายเชื้อชาติจนหลอมรวม เป็นวัฒนธรรมไทยที่เป็นเอกลักษณ์จนถึงทุกวันนี้ก่อนที่ชนชาติไทยจะก่อตั้งอาณาจักรของคนไทยได้นั้น ดินแดนแถบนี้เคยอยู่ภายใต้อิทธิพลของขอม หรือ เขมร ดังนั้นวัฒนธรรมขอมหรือเขมรจึงยังคงปรากฎในประเทศไทยอยู่ในปัจจุบัน โดยเฉพาะดินแดนอีสานใต้ อาทิ กลุ่มชนเชื้อสายเขมร การแต่งกาย อาหาร การละเล่น และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง สถาปัตยกรรมอันยิ่งใหญ่ของชายขอมหรือเขมรโบราณคือ ปราสาทขอม

ศิลปะเขมร
ส่วนมากพบทางตอนใต้ของภาคอีสานและบางส่วนของภาคกลางในประเทศไทย แม้ว่าจะเป็นอิทธิพลศิลปะเขมรแต่ก็ได้มีการปรับปรุงบางส่วนให้แตกต่างจากเขมร เมื่อนำไปเปรียบเทียบกับศิลปะเขมร ทั้งนี้เพื่อให้เข้ากับรสนิยมของคนท้องถิ่น

ศิลปะเขมรสามารถแบ่งออกเป็น 2 ยุคใหญ่ คือ
สมัยก่อนเมืองพระนคร ประกอบด้วย
ศิลปะแบบพนมดา (..1080 – 1140) ตรงกับปลายสมัยฟูนัน
ศิลปะแบบถาลาบริวัต (..1150)
ศิลปะแบบสมโบรไพรกุก (หลัง พ..1140 – 1190)
ศิลปะแบบไพรกเมง (.. 1175 – 1240)
ศิลปะแบบกำพงพระ (..1246 – 1340)
ศิลปะแบบกุเลน (..1365 – 1415) ยุคนี้ถือเป็นยุคหัวเลี้ยวหัวต่อ
สมัยเมืองพระนคร ประกอบด้วย
ศิลปะแบบพระโค (..1415 – 1433)
ศิลปะแบบบาแค็ง (..1433 – 1465) ตรงกับสมัยพระเจ้ายโศวรมันผู้สร้างเมืองพระนคร
(Angkor) และมีปราสาทพนมบาแค็งเป็นศูนย์กลาง
ศิลปะแบบเกาะแกร์ (..1464 – 1485) ตรงกับสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 4
ศิลปะแบบแปรรูป (..1490 – 1505)
ศิลปะแบบบันทายสรี (..1510 – 1540)
ศิลปะแบบคลัง (..1505 – 1550)
ศิลปะแบบบาปวน (..1550 – 1620) ตรงกับสมัยพระเจ้าสุริยวรมันที่ 1
ศิลปะแบบนครวัด (..1640 – 1715) ตรงกับสมัยพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 ผู้สร้างปราสาทนครวัด
ศิลปะแบบบายน (..1720 – 1770) ตรงกับรัชกาลพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ผู้สร้างเมืองพระนครหลวง
(Angkor Thom) โดยมีปราสาทบายนเป็นศูนย์กลาง

ศิลปกรรมเขมร
สถาปัตยกรรมเรียกว่า ปราสาท” (Sanctuary) ปราสาทไม่ใช่ที่อยู่ของกษัตริย์ แต่เป็นศาสนสถาน หากเป็นศาสนสถานของศาสนาฮินดู จะเรียกว่า เทวาลัย หากเป็นศาสนสถานของศาสนาพุทธ คือ วัด
ประกอบด้วย ฐาน ค่อนข้างเตี้ย, เรือนธาตุ และเครื่องบน (หลังคา)วัสดุในการก่อสร้าง ในระยะแรกคืออิฐ ต่อมาคือหินทราย และศิลาแลงตามลำดับทับหลัง ศิลาสลักแท่งสี่เหลี่ยม วางเหนือกรอบประตู (Lintal)
ทับหลังที่เก่าแก่ที่สุดที่พบในเมืองไทย มีอายุกลางพุทธศตวรรษที่ 12 เป็นรูปตัว มกร พบที่วัดทองทั่ว จ.จันทบุรี
ศิลปะแบบสมโบรไพรกุก ที่พบเป็นทับหลังรูปตัวมกร หันหน้าเข้าหากัน ประติมากรรมรูปพระอุมาพบที่ จ.สระแก้ว
ศิลปะแบบไพรกเมง ทับหลังที่พบมักเป็นลายพันธุ์พฤกษา สำหรับสถาปัตยกรรมที่พบเก่าแก่ที่สุดคือปราสาทพุมโทน จ.สุรินทร์ ก่อด้วยอิฐ
ศิลปะแบบกำพงพระ สมัยนี้อาณาจักรเขมรเกิดการจราจล ทำให้ศิลปะเสื่อม จึงพบน้อย ทับหลังที่พบเป็นลวดลายท่อนพวงมาลัย ใบไม้
ศิลปะแบบเกาะแกร์ ทับหลังยุคนี้มีวิวัฒนาการ คือมีท่าท่อนพวงมาลัย ออกจากกึ่งกลางทับหลัง ตรงกลางเป็นรูปรามาวตาร สมัยนี้นิยมภาพเล่าเรื่อง
ศิลปะแบบคลัง ทับหลังมีรูปตัวหน้ากาล (เป็นสัตว์ที่มีแต่ศรีษะ มีริมฝีปากบนไม่มีริมฝีปากล่าง) คลายท่อนพวงมาลัยออกจากปากเบื้องล่างทับหลังแล้ววกขึ้นบน มีพวงอุบะแบ่งที่เสี้ยว พบที่ปราสาทเมืองต่ำที่เดียว
ศิลปะแบบบาปวน ศิลปะแบบบาปวนมี 3 แบบ
1. แบบบาปวนแท้  แต่นำพวงอุบะออก
2. ท่อนพวงมาลัยยังคงมีอยู่ตรงกลางให้เป็นภาพเล่าเรื่อง
3. ท่อนพวงมาลัยหายไป เป็นภาพเล่าเรื่องทั้งแผ่น
ปราสาทที่สำคัญของยุคนี้คือปราสาทเมืองต่ำ มีสระน้ำทั้ง 4 มุมของปราสาทโดยนำหนิมาสลักเป็นนาคเลื้อยรอบขอบสระนาคบาปวนเป็นนาคหัวโล้น ไม่มีรัศมี
ศิลปะแบบนครวัด เป็นสมัยที่ศิลปะเขมรเจริญถึงขีดสุด มีความสวยงามที่สุด ทับหลังเป็นภาพเล่าเรื่อง นาคมีรัศมี ตัวอย่างปราสาทขอมแบบนครวัดในเมืองไทยคือปราสาทหินพิมาย ก่อด้วยหินทราย ปราสาทเขาพนมรุ้ง สร้างเพื่อถวายพระศิวะ ในความหมายของเขาไกรลาศ ที่ประทับของพระองค์
สำหรับพุทธปฎิมากรรมเขมรมักนิยมสร้างพระปางนาคปรก แต่ในยุคนครวัดจะเป็นพระนาคปรกทรงเครื่อง คือสวมมงกุฎ สวมต่างหู และหน้าบึ้ง
ศิลปะแบบบายน สมัยนี้นับถือพุทธศาสนานิกายมหายาน ประติมากรรมยังคงนิยมสร้างพระปาง นาคปรกอยู่ นอกจานี้ยังมีการสร้างพระรวมกลุ่ม 3 องค์เรียกว่าพระรัตนไตรมหายานประกอบด้วย
1. พระพุทธเจ้า 2. พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร 3. พระนางปัญญาปารมิตา
สำหรับทับหลัง เป็นรูปหน้ากาล เหนืออหน้ากาลทำเป็นรูปพระพุทธเจ้าหรือพระโพธิสัตว์อวโลกิเต
ศวร ตัวหน้ากาลคลายลายในไม้ม้วน
สำหรับปราสาทจัดว่าเป็นยุคเสื่อม เพราะ 1. รูปแบบที่เทอะทะ 2. วัสดุมักใช้ศิลาแลงที่มีคุณภาพสู้หินทราบไม่ได้ 3. เทคนิคการก่อสร้างที่วางศิลาแลงในแนวเดียวกันทำให้การยึดติดไม่ดี